หมดตูด
เมื่อสายๆ ของวันเสาร์ (14 Feb 2009 Valentine’s Day)
ผมมีธุระต้องเดินทางไปตรวจ ไข่
20 ฟอง ที่ หมู่บ้านสัมมากร
ระหว่างที่เลี้ยวลดเข้าตามตรอก ออกตามประตู
ก็ได้พบเหตุการณ์ให้ต้องหยุดสะดุดตา
มีเด็กสองคน ยืนร้องไห้จ้าอยู่ตรงหน้า
ดูแกสองคน เศร้าโศกมาก
เหมือนเสียของรักอะไรบางอย่างไป
ผมสะเทือนใจ และเห็นใจ
สอบถามจากเด็กทั้งสองคน
พวกแกร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร ปนสะอึกสะอื้น
พูดเพียงว่า
“ถูกกินหมดตูดแล้ว”
แล้วพวกแก ก็ทำท่าทางประกอบ
หนูน้อย (อุลตร้าอะไรสักชนิด) คนหนึ่ง ปล่อยโฮดังลั่น แล้ววิ่งกลับบ้าน
“เค้า จะไปฟ้องแม่…”
เหลือเพียง หนูน้อย (มดแดงอะไรสักชนิด)
ที่บอกเล่าให้ฟังอย่างหมดเปลือก และเมล็ด
จึงได้ทราบเรื่องราว ถึงเหตุที่ “หมดตูด”
แก บอกว่า โดนเด็กอีกคน กินตุ๊กตุ่น ของแกไปจนเกลี้ยง
เอามากี่ตัวๆ ก็แพ้ทอยเส้นหมด
อาจจะมีการเล่นโกง หรือ ฮั้วกัน?
อ๋อ ที่แท้พวกนู๋ๆ ก็เสียตัว
ตุ๊กตุ่น
จากการแพ้ ทอยเส้น
จน หมดตูด นั่นเอง
ทอยเส้น
การละเล่นยอดฮิท ที่ผมเคยเล่น สมัยเด็ก นั่นน่ะนะ?
วิ้ ง ง ง ง ง
ค ว้ า ง ง ง
ผมตั้งคำถามในใจ
น้อง (มดแดงอะไรสักชนิดหนึ่ง) คนนั้นก็ทำตัวเป็น อิ๊กคิวซัง ตอบรับมาว่า “ใช่ yes i do”
เอ ยังมีเด็กวัยรุ่นหลงยุค เล่นทอยเส้น กันในหมู่บ้านนี้ อยู่อีกเหรอเนี่ย
โอ้ว พระพุทธเจ้าช่วย
ผมอุทาน ด้วยความประหลาดใจ ระคนไปด้วยความกังวล และเจือปนด้วยความพะอืดพะอมเล็กน้อย
หรือว่าผมหลุดผ่านรูหนอนอวกาศ แบล็คโฮล์ว หรือย้อนเวลาด้วยไทม์แมชชีนโดราเอมอน กลับมา
แล้วน้อง (มดแดงอะไรสักชนิดหนึ่ง) ก็สะกิดผมจากภวังค์ เล่าให้ผมฟังอย่างละเอียด
———————— ภาพเริ่มแฟลชแบ็ค ไปยังเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ —————————
เรื่องมันมีอยู่ว่า
กาลครั้งหนึ่ง อันเป็นเวลานมนาน
ณ ดินแดนไกลโพ้น…
ยังมีเด็กคนหนึ่ง เรียกร้องให้ เพื่อนๆ ออกมาเล่น ทอยเส้น กัน
แล้วกระบวนการสรรหา ก็เริ่มจากการ
“โอ น้อย ออก”
(อกรรมกริยา: เป็นการ สะบัดมือ เร็วๆ เหมือนกำลังพัดไฟในเตา)
พวกแก ล้อมวง สะบัดฝ่ามือ ซ้ายขวาๆ หลอกล่อ ต่างๆ นานา
แล้ว เปล่งเสียงพร้อมกันว่า
โออออออออ
น้อยยยยยยยยยยยยยยยย
อ่อก
พร้อมกับ พลิกฝ่ามือ
บางคน หงายฝ่ามือ บางคน คว่ำฝ่ามือ
ใครเป็น ส่วนน้อย ต้องทอยก่อน
(ประชาธิปไตย ดี)
จาก สี่ เหลือ สาม
แล้วก็ โอน้อยออก ซ้ำอีก
จาก สาม เหลือ สอง
พอเหลือสองคน พวกแก ก็เปลี่ยนท่า
เป็น
“เป่ายิ้งฉุบ”
ยันยิงเยา ปั๊ก กะ เป้า ยิ้งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง
ฉุบ
ฉุบ
ฉุบ
(ฆ้อน, กรรไกร หรือ กระดาษ ทำมือเป็นรูปนั้น)
พวกแก ยึดบล็อกถนนซีเมนต์ หน้าบ้าน หนึ่งบล็อก
(ต้องมีระยะขจัดราว สิบสองศอก กับอีกสองเชียะ จึงจะ) เป็น Battle arena ส่วนตัว ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก
เริ่มจาก รอยต่อ ระหว่าง บล็อกซีเมนต์ ด้านหนึ่ง เป็นจุดจรดปลายเท้า
ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าว โหวกเหวก โดยไม่แยแสใคร
ท่าทางการ เล็ง แล้ว ทอย นั้นเล่า ก็มีชั้นเชิงต่างกันไป
ย่อเข่าเล็กน้อย แต่พองาม (ดูเหมือน ทำให้เกิดแรงสปริง)
แล้วโยกลำตัวยืดขึ้น โดยปลายเท้า ยังคงต้องจรดอยู่กับที่ (ไม่เช่นนั้นจะเป็น foot false ไปทันที)
พร้อมกับ แกว่งแขนไปทางด้านหลังประมาณ สามสิบองศา จากแนวตั้ง
แล้วสบัด ปล่อย สิ่งของที่อยู่ในมือ ให้พุ่งออกมาอย่างมีพลัง
บางคนมีลีลา ควง และฟอลโล่ว์วงสวิง ราวกับ นักยิมนาสติกลีลาใหม่ มาออกรอบตีกอล์ฟ
ด้วยหวังให้ ตุ๊กตุ่น ตกแล้วหนึบอยู่กับที่ ไม่กระเด็นกระดอน ไปไกลจากพิกัด จนคาดเดาไม่ได้
ตัวผมสั่นเทิ้ม กับภาพแฟลชแบ็คตรงหน้า
โอว มันช่างเป็นภาพที่ งดงาม อะไรเยี่ยงนี้
ผมไม่ได้เห็น ลีลาสะท้าน…โลก แบบนี้มานานมากแล้ว
มันช่าง กระซวกความทรงจำของผมออกมาได้อย่างรุนแรง
ดวงตาผมเริ่มเจิ่งนองไปด้วย น้ำตาอุ่นๆ แก้มแดงระเรื่อ ระคนด้วยความเบิกบานฤทัย ราวกับกระดี่ได้น้ำ
ความสดใส เริงร่าของเด็กๆ กลุ่มนี้ ทำให้ผมปลาบปลื้มเป็นที่สุด
ภาพซูมขยายในระดับ นาโน
เพื่อให้เห็นตัวอย่าง “การคาบเส้น”
เหนือรอยต่อ พื้นซีเมนต์
อาการเช่นนี้ ตัวที่พันลวด ถือว่า ชนะ (เพราะคาบเส้น หรือใกล้เส้นกว่าตัวอื่น)
คนที่ “คาบเส้น” (รอยต่อบล็อกซีเมนต์พื้น) ถือว่าเป็นผู้มีชัยในการทอย
หากไม่มีใครคาบ ก็ถือเอาคนที่ใกล้เส้นมากที่สุด ชนะ

แล้วฝีมือการ (ปา หรือ) เตี๊ยม ให้โดน ตุ๊กตุ่นตัวที่ใกล้เส้น ลำดับถัดๆ ลงมาล่ะ?
ความสามารถจะเป็นเยี่ยงไร? ต้องดูกันต่อไป
เริ่มจาก การทอย หาผู้ชนะ แล้วตามด้วยกระบวนท่า
เอาปลายเท้าข้างหนึ่งจรดตำแหน่งตุ๊กตุ่นของตัว ประหนึ่งจุดหมุน แล้วจับตุ๊กตุ่น
ไปแจะ หรือแตะ ตุ๊กตุ่นตัวถัดไป
ถ้าไกล ก็ใช้วิธี (ปา หรือ) เตี๊ยมให้โดน
เมื่อปาโดนก็เรียกว่า “กิน”
ยึดสมบัติผู้อื่น มาเป็นสมบัติของตน
ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะปาไม่โดน
จบหนึ่งตา พวกเด็กๆ ก็หันหลังกลับ ทอยไปทิศทางที่เริ่มต้น
ตาต่อไป
คนห่างเส้น เริ่มทอยก่อน
ทอยไป ทอยมา ผสานเสียง ฮา และเถียงกันเป็นระยะ ว่า ใครใกล้เส้นกว่ากัน
ต้องมีการ หาอุปกรณ์ ช่วยวัด ความใกล้เส้น
ซึ่งมีทั้ง ไม้เสียบลูกชิ้นปิ้ง ที่หล่นตกค้างตามพื้น
หรือใช้ นิ้วมือ(อวบๆ ) หรือ ฝ่ามือ(อวบๆ )
เรื่อยไปจนใช้ฝ่าเท้า(อวบๆ ) ใช้เฉพาะในกรณีที่ห่างเส้นมาก
เหนือฟ้า ยังมีฟ้า
เหนือกระดาษ ยังมีซาละเปา
เหนือเส้น ยังมีตุ๊กตุ่น
มีผู้แพ้ ย่อมมีผู้ชนะ
คนชนะ ก็หัวเราะ เยาะหยัน อยู่ในที
คนแพ้ ก็ปลอบใจตัวเอง
“แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร”
เวลา และวารี ไหลผ่านไปนานเท่าไรแล้วก็ไม่อาจรู้ได้
เพราะผมเพลิดเพลิน กับการละเล่น ของเด็กน้อยที่แสนน่ารักกลุ่มนี้ จนลืมเวลา
ภาพการละเล่น รอบแล้ว รอบเล่า ผ่านสายตาผมไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว
สลับกันแพ้ สลับกันชนะ
ใครกินได้เยอะ ก็มีตุ๊กตุ่นรวมกันเป็นกองใหญ่
บ้างยัดใส่กระเป๋ากางเกง บ้างก็ใส่ถุงที่เตรียมมา
กลับมาที่การทอยเส้น เป็นการเล่น ตาที่เท่าไรแล้วก็ไม่รู้
ทอย อ อ ก ไ ป แ ล้ ว . . . . . . .
ตัวแรกทอยเลยเส้น (เส้นนอก-นอกเส้น)
ตัวที่สอง “คาบเส้น”
เย้
ตัวที่สาม (อุลตร้าอะไรสักชนิด) ซึ่งชนะกินชาวบ้านมาตลอด
ครานี้ จะสู้ด้วยกลยุทธใด
พี่แกใช้วิธี
ทอย ให้ห่างจากตุ๊กตุ่นตัวที่คาบเส้นนั้น
ด้วยการวางแหมะ ใกล้ๆ เส้น (เริ่มทอย)
โอววว ฮีโร่ ม้าค ขะ
ช่างเป็นกระบวนท่าที่ร้ายกาจสุดยอด องอาจ ต่อสู้ได้สมศักดิ์ศรี
หาชมได้ยากยิ่งนัก
เล่นวางแหมะ ต่ำกว่าครึ่งทางอย่างนี้ ใครจะไปปาโดนกันเล่า?
อย่างนี้เด๋วมีตื้บ
เด็กคนหนึ่ง (ไอ้มดแดงอะไรสักชนิด) เริ่มครุ่นคิด หาวิธีริบมาให้หมด
สงสัย เรื่องนี้จะจบแบบ anti-hero
นี่คือ โฉมหน้ากาก เด็กที่ชนะ ได้กินตุ๊กตุ่น ไปจนหมด
กับท่าทางดีใจมาก แต่ไม่ออกนอกหน้า(กาก)
น้องพาวเวอร์พัฟ-อะไรสักชนิดหนึ่ง นั่นเอง
วิดีโอบนยู้ทิ้วป์
เอ็นด์ เครดิต
นักแสดงเด็ก
ป๋าเอ๊กซ์
น้อง แคนน็อน (นามสมมติ เพราะยังเป็นเยาวชน)
พี่โก้
พี่โอ๋
พี่อัยย์
เอื้อเฟื้อสถานที่ และ พร็อพ เสื้อผ้าหน้าผม โดย piyada ซาล็อน (ของใคร หว่า?)
ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ผู้ชมทุกท่าน ในวันหยุดนี้
อมยิ้มก่อนนอน
อวสาน